ประวัติการพิมพ์ของประเทศไทย
การพิมพ์ของไทยตามหลักฐานที่ค้นพบน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ใกล้กับ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการพิมพ์ก่อนส่วนใด ๆ ของโลก แต่ประเทศไทยกลับได้รับอิทธิพลของการพิมพ์จากชาวยุโรป
ปี พ.ศ.2205 คณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศส ที่เข้ามาในประเทศไทย โดยมีบาทหลวงสังฆราชองค์หนึ่ง ชื่อหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ได้แต่งและพิมพ์หนังสือเป็นภาษาไทย แต่ใช้พิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน (โดยเขียนทับคำ เช่น คำว่า ในวัด จะพิมพ์เป็นภาษาโรมันว่า nai vat) หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาจำนวน 26 เล่ม หนังสือไวยกรณ์ไทยและบาลี 1 เล่ม และพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม
ปี พ.ศ.2339 บาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนล์ (Garnault) ได้เข้ามาสอนศาสนาและตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่ วัดซางตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือที่พิมพ์แล้วยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันคือ หนังสือคำสอนคริสตัง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หนังสือจัดพิมพ์เป็นคำอ่านภาษาไทยแต่ใช้ตัวอักษรโรมันเป็นตัวพิมพ์
ปี พ.ศ.2356 มิชชันนารีชาวอเมริกัน คู่หนึ่ง สามีเป็นบาทหลวง ชื่อศาสนาจารย์ แอดดอไนราม จัดสัน (Reverend Adoniram Judson) ภรรยาชื่อ นางแอน เฮเซนไทล์ จัดสัน (Ann Hazeltine Judson) สังกัดคณะ A.B.C.F.M. (American Board of Commissioners for Foreign Missions) ได้เดินทางมาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในประเทศพม่า และได้ทำงาน ร่วมกับพวกมิชชันนารีคณะแบบติสต์ (Baptist) ภายหลังทั้งคู่ได้เปลี่ยนมาสังกัดกับพวกมิชชันนารีอเมริกันคณะแบบติสต์ นางจัดสันได้พบเชลยคนไทยและลูกหลานคนไทยที่ถูกกวาดต้อนมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 โดยนางจัดสันได้ศึกษาภาษาไทยและหนังสือภาษาไทยจนเข้าใจดีแล้วแปลคำสอนของสามีและพระคัมภีร์แมทธิวเป็นภาษาไทย พร้อมกับได้ออกแบบตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น
ปี พ.ศ. 2359 คณะแบบติสต์ได้ส่ง นายยอร์จ เอ็ช. ฮัฟ (George H. Hough) ให้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ มาตั้งโรงพิมพ์แบปติสต์ในพม่า
ปี พ.ศ.2360 นายฮัฟได้ทำการพิมพ์หนังสือจากตัวพิมพ์ที่ออกแบบและหล่อขึ้นโดยนางจั๊ดสัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือไทยจากตัวพิมพ์เป็นครั้งแรก การพิมพ์นี้พิมพ์ที่เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า แต่จะเป็นหนังสืออะไรบ้างไม่มีหลักฐานเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ.2362 พม่าเกิดสถานการณ์สงครามคับขันกับอังกฤษ คณะแบปติสต์ได้มาอยู่ที่เมืองเซรัมโปร์ (Serampore) นครกัลกัตตา (Calcutta) ประเทศอินเดีย โดยได้นำตัวพิมพ์อักษรไทยไปด้วย
ปี พ.ศ.2371 ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือเป็นตัวอักษรไทย ชื่อ ตำราไวยกรณ์ไทย (A Grammar of The Thai or Siamese Language) แต่งโดย กัปตันเจมส์โลว์ (Captain James Low) ซึ่งเป็นนายทหารอังกฤษ พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press เมืองเซรัมโปร์ นครกัลกัตตา เรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ อธิบายไวยกรณ์ไทยและมีตัวอย่างหน้าหนังสือไทยอยู่หลายหน้าที่เป็นหน้าตัวเขียนลายมืออักษรไทย พิมพ์ด้วยบล็อกโลหะก็มี พิมพ์ด้วยตัวเรียง พิมพ์ที่นางจั๊ดสันได้จัดหล่อขึ้นที่พม่าก็มี
ปี พ.ศ.2373 โรเบิร์ต เบิร์น มิชชันนารีคณะลอนดอน ได้ขอซื้อแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยจากโรงพิมพ์คณะแบปติสต์ นครกัลกัลตา มาติดตั้งดำเนินการอยู่ที่สิงคโปร์ และได้รับงานตีพิมพ์คำสอนของพวกมิชชันนารีอเมริกันที่อยู่ในกรุงเทพฯเวลานั้นไปจ้างให้ พิมพ์ด้วย
ปี พ.ศ.2375 โรเบิร์ต เบิร์น ได้ถึงแก่กรรมลง โรงพิมพ์ดังกล่าวจึงได้ขายแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยให้แก่มิชชันนารีคณะอเมริกันบอร์ด
ปี พ.ศ.2378 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือหมอบรัดเลย์ และคนไทยมักเรียกว่าหมอปลัดเล เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้รับมอบแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยจากคณะอเมริกันบอร์ด โดยขนย้ายมาจากสิงคโปร์มายัง กรุงเทพฯ
ปี พ.ศ.2379 เริ่มติดตั้งแท่นพิมพ์และทดลองพิมพ์เป็นภาษาไทย โดยหมอบรัดเลย์ งานที่พิมพ์มีงานของศาสนาจารย์ชาลส์ โรบินสัน ซึ่งเป็นพวกคำสอนของศาสนา พระบัญญัติสิบประการ คำอธิบายสั้น ๆ และบทสรรเสริญ แต่ตัวอักษรยังไม่สวยงาม และตัวพิมพ์ที่นำมาจากสิงคโปร์ก็ได้สึกหรอเสียหายไปตามกาลเวลา หมอบรัดเลย์จึงได้คิดประดิษฐอักษรไทยขึ้นใหม่
การพิมพ์ของไทยตามหลักฐานที่ค้นพบน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ใกล้กับ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการพิมพ์ก่อนส่วนใด ๆ ของโลก แต่ประเทศไทยกลับได้รับอิทธิพลของการพิมพ์จากชาวยุโรป
ปี พ.ศ.2205 คณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศส ที่เข้ามาในประเทศไทย โดยมีบาทหลวงสังฆราชองค์หนึ่ง ชื่อหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ได้แต่งและพิมพ์หนังสือเป็นภาษาไทย แต่ใช้พิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน (โดยเขียนทับคำ เช่น คำว่า ในวัด จะพิมพ์เป็นภาษาโรมันว่า nai vat) หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาจำนวน 26 เล่ม หนังสือไวยกรณ์ไทยและบาลี 1 เล่ม และพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม
ปี พ.ศ.2339 บาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนล์ (Garnault) ได้เข้ามาสอนศาสนาและตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่ วัดซางตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือที่พิมพ์แล้วยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันคือ หนังสือคำสอนคริสตัง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หนังสือจัดพิมพ์เป็นคำอ่านภาษาไทยแต่ใช้ตัวอักษรโรมันเป็นตัวพิมพ์
ปี พ.ศ.2356 มิชชันนารีชาวอเมริกัน คู่หนึ่ง สามีเป็นบาทหลวง ชื่อศาสนาจารย์ แอดดอไนราม จัดสัน (Reverend Adoniram Judson) ภรรยาชื่อ นางแอน เฮเซนไทล์ จัดสัน (Ann Hazeltine Judson) สังกัดคณะ A.B.C.F.M. (American Board of Commissioners for Foreign Missions) ได้เดินทางมาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในประเทศพม่า และได้ทำงาน ร่วมกับพวกมิชชันนารีคณะแบบติสต์ (Baptist) ภายหลังทั้งคู่ได้เปลี่ยนมาสังกัดกับพวกมิชชันนารีอเมริกันคณะแบบติสต์ นางจัดสันได้พบเชลยคนไทยและลูกหลานคนไทยที่ถูกกวาดต้อนมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 โดยนางจัดสันได้ศึกษาภาษาไทยและหนังสือภาษาไทยจนเข้าใจดีแล้วแปลคำสอนของสามีและพระคัมภีร์แมทธิวเป็นภาษาไทย พร้อมกับได้ออกแบบตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น
ปี พ.ศ. 2359 คณะแบบติสต์ได้ส่ง นายยอร์จ เอ็ช. ฮัฟ (George H. Hough) ให้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ มาตั้งโรงพิมพ์แบปติสต์ในพม่า
ปี พ.ศ.2360 นายฮัฟได้ทำการพิมพ์หนังสือจากตัวพิมพ์ที่ออกแบบและหล่อขึ้นโดยนางจั๊ดสัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือไทยจากตัวพิมพ์เป็นครั้งแรก การพิมพ์นี้พิมพ์ที่เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า แต่จะเป็นหนังสืออะไรบ้างไม่มีหลักฐานเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ.2362 พม่าเกิดสถานการณ์สงครามคับขันกับอังกฤษ คณะแบปติสต์ได้มาอยู่ที่เมืองเซรัมโปร์ (Serampore) นครกัลกัตตา (Calcutta) ประเทศอินเดีย โดยได้นำตัวพิมพ์อักษรไทยไปด้วย
ปี พ.ศ.2371 ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือเป็นตัวอักษรไทย ชื่อ ตำราไวยกรณ์ไทย (A Grammar of The Thai or Siamese Language) แต่งโดย กัปตันเจมส์โลว์ (Captain James Low) ซึ่งเป็นนายทหารอังกฤษ พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press เมืองเซรัมโปร์ นครกัลกัตตา เรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ อธิบายไวยกรณ์ไทยและมีตัวอย่างหน้าหนังสือไทยอยู่หลายหน้าที่เป็นหน้าตัวเขียนลายมืออักษรไทย พิมพ์ด้วยบล็อกโลหะก็มี พิมพ์ด้วยตัวเรียง พิมพ์ที่นางจั๊ดสันได้จัดหล่อขึ้นที่พม่าก็มี
ปี พ.ศ.2373 โรเบิร์ต เบิร์น มิชชันนารีคณะลอนดอน ได้ขอซื้อแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยจากโรงพิมพ์คณะแบปติสต์ นครกัลกัลตา มาติดตั้งดำเนินการอยู่ที่สิงคโปร์ และได้รับงานตีพิมพ์คำสอนของพวกมิชชันนารีอเมริกันที่อยู่ในกรุงเทพฯเวลานั้นไปจ้างให้ พิมพ์ด้วย
ปี พ.ศ.2375 โรเบิร์ต เบิร์น ได้ถึงแก่กรรมลง โรงพิมพ์ดังกล่าวจึงได้ขายแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยให้แก่มิชชันนารีคณะอเมริกันบอร์ด
ปี พ.ศ.2378 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือหมอบรัดเลย์ และคนไทยมักเรียกว่าหมอปลัดเล เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้รับมอบแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยจากคณะอเมริกันบอร์ด โดยขนย้ายมาจากสิงคโปร์มายัง กรุงเทพฯ
ปี พ.ศ.2379 เริ่มติดตั้งแท่นพิมพ์และทดลองพิมพ์เป็นภาษาไทย โดยหมอบรัดเลย์ งานที่พิมพ์มีงานของศาสนาจารย์ชาลส์ โรบินสัน ซึ่งเป็นพวกคำสอนของศาสนา พระบัญญัติสิบประการ คำอธิบายสั้น ๆ และบทสรรเสริญ แต่ตัวอักษรยังไม่สวยงาม และตัวพิมพ์ที่นำมาจากสิงคโปร์ก็ได้สึกหรอเสียหายไปตามกาลเวลา หมอบรัดเลย์จึงได้คิดประดิษฐอักษรไทยขึ้นใหม่
Lucky Casino - Las Vegas, NV - Mapyro
ตอบลบFind all information and best deals of Lucky 김해 출장안마 Casino, Las Vegas, NV, based 군산 출장샵 on 파주 출장샵 102 reviews and 11278 candid photos, videos and 서귀포 출장안마 people are also 대전광역 출장샵 featured.